เมนู

นี้ เป็นผลในมรรควิถี. ส่วนผลในระหว่างกาล เกิดขึ้นด้วย
อำนาจสมาบัติ และเกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติก็สงเคราะห์ด้วย
ผลญาณนี้เหมือนกัน.

13. อรรถกถาวิมุตติญาณุทเทส


ว่าด้วย วิมุตติญาณ


คำว่า ฉินฺนวฏุมานุปสฺสเน ปญฺญา แปลว่า ปัญญาใน
การพิจารณาเห็นอุปกิเลสอันอริยมรรคตัดขาดแล้ว ความว่า ปัญญา
ในการเห็นภายหลังซึ่งอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรคนั้น ๆ ตัดขาดแล้ว.
คำว่า วิมุตฺติญาณํ เป็นวิมุตติญาณ ความว่า ญาณในวิมุตติ.
คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่จิตบริสุทธิหลุดพันจากอุปกิเลสทั้งหลาย,
หรือความที่จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว, ญาณคือความรู้ในวิมุตตินั้น ชื่อว่า
วิมุตติญาณ.
ท่านกล่าวอธิบายการพิจารณากิเลสที่ละแล้วด้วยญาณนี้ว่า พระ-
อริยบุคคลเมื่อพิจารณาความสืบต่อแห่งจิตที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้วก็ดี ซึ่ง
ความหลุดพ้นจากกิเลสก็ดี เว้นกิเลสเสียก็พิจารณาไม่ได้ดังนี้. ก็คำว่า
วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ แปลว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว

ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้วดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาวิมุตติญาณนี้นั่นแล. ส่วน
การพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ แม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้ว ก็พึงถือเอาว่า
เป็นอันกล่าวแล้วด้วยวิมุตติญาณนี้แล. และท่านกล่าวไว้ว่า
แม้กล่าวในเอกธรรม ก็เป็นอันกล่าวทั้ง-
หมด เพราะสภาวธรรมนั้นมีลักษณะเป็นอันเดียว
กัน, นี้เป็นลักษณะ เป็นหาระ
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวถึงการพิจารณากิเลสที่
ละแล้วซึ่งพระอริยบุคคล 4 จะพึงได้ เพราะพระอรหันต์ไม่มีการ
พิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่.

14. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณุทเทส


ว่าด้วย ปัจจเวกขณญาณ


คำว่า ตทา สมุทาคเต ธมฺเม ปสฺสเน ปญฺญา แปลว่า
ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น ความ
ว่า ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเพ่งรู้ในธรรมคือมรรคและผลกับทั้งในธรรม
คือสัจจะ 4 ที่เกิดขึ้นในมรรคขณะและผลขณะ คือมาพร้อมแล้ว ถึง
พร้อมแล้ว ประชุมกันในกาลนั้น ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะและ
ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.